หลายสิ่งหลายอย่าง ที่คุณต้องการรู้ เกี่ยวกับ ...

ฮาวทู ไลฟ์สไตล์ ดีไอวาย อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เว็บไซท์ ยานยนต์ บ้าน ฯลฯ

LED Tail/Brake/Turn Lights Conversion

LED Tail/Brake/Turn Lights Conversion

หลังจากถอดโคมไฟหน้าออกมาพ่นเป็นโคมดำกันแล้ว คราวนี้เราจะมาถอดไฟท้ายตาเพชรแปลงให้เป็นไฟ LED แบบครบเซ็ตกัน ทั้งไฟหรี่ ไฟเบรค ไฟเลี้ยว รวมไปถึงไฟเบรคดวงที่   3 ด้วยเลยทีเดียว ซึ่งจะช่วยให้ความร้อนบริเวณตัวโคมไฟลดลงกว่าเดิมเป็นอย่างมาก เมื่อเที่ยบกับตอนที่เป็นหลอดไส้แบบของเดิม อีกทั้งตัวโคมไฟเองก็จะไม่กรอบหรือแตกได้ง่ายอีกด้วย โดยวงจรออกแบบให้หลอด LED กินกระแสแบบคงที่จากการขับกระแสผ่านตัวทรานซิสเตอร์นั้นเอง แต่ต้องหา Dummy Load Resistor หรืออาจต่อขา 1 สายสี WHT-GRN ของกล่องวงจรตรวจจับไฟเบรคขาด ฝั่งที่มี Reed Switch 2 ตัว วงจรก็จะทำงานได้เป็นปกติ

ก่อนอื่นเรามาดูถึงสาเหตุว่าทำไมเราน่าจะต้องเปลี่ยนไปใช้หลอด LED แทนหลอดไส้แบบเดิม เนื่องจากหลอดไส้แบบทำจากทังสเตนซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าจะกินกระแสสูงมาก แทนที่จะได้เป็นแสงสว่างออกมาทั้งหมดกลับสูญเสียไปในรูปแบบของพลังงานความร้อนแทนเป็นส่วนใหญ่ แต่ LED จะให้แสงสว่างออกมาได้คุ้มค่ามากกว่าด้วยการให้พลังงานกับอิเล็กตรอนในชิ้นสารที่เป็นสารกึ่งตัวน้ำไฟฟ้าจนมีพลังงานหลุดชั้นวงโคจรออกไปและยังหลือพอที่จะเปลี่ยนสภาพกลายไปเป็นโฟตอนที่ความถี่ต่างๆตามแต่ที่เราต้องการจะให้ตามองเห็นว่าเป็นสีอะไร จึงทำให้ไม่เกิดการสูญเสียพลังงานไปในรูปของพลังงานความร้อนเหมือนอย่างเช่นหลอดไส้ หากดูที่การกินกระแสของหลอดไส้ไฟเบรคทั่วๆไปแล้ว จะกินกระแสเกือบๆ 2 แอมป์ แต่ถ้าเป็นหลอด LED ที่ความสว่างเท่ากันหรืออาจะมากกว่าด้วยซ้ำไป จะกินกระแสเพียง 0.2 แอมป์ เพียงเท่านั้น อาจจะสูญเสียเพียงแค่ค่าความร้อนที่ตกคล่อมอยู่ที่ตัวต้านทานจำกัดกระแสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าหลอดไฟรถยนต์ทั้งโลกเปลี่ยนมาเป็นหลอดไฟแบบ LED หมดโลกเราอาจจะร้อนน้อยลงไปอีกนิด เหมือนการใช้หลอด DLR (Daytime Running Light) แทนการเปิดไฟหน้ารถในตอนกลางวัน 
 
อันดับแรกเราก็ต้องไปเลือกวงจรที่จะมาใช้งานกันก่อน คราวนี้จะใก้อยู่  3 วงจรจากเว็บ redcircuit.com ซึ่งก็คือ
  1. LED driven Tail/Brake Light Cluster เอาไว้ขับไฟหรี่กับไฟเบรค
  2. Sequential Brake/Turn Lights อันนี้จะเอามาทำไฟเลี้ยว
  3. Brake Light Signal Module อันนี้เอาไว้มาทำไฟเบรคดวงที่ 3 คือวงจรมันจะกระพริบ 4 ครั้งแล้วก็ติดค้าง

ขั้นตอนการออกแบบและติดตั้ง

  • มาเริ่มที่ไฟเบรคดวงที่ 3 ก่อน ดวงหลังนี่ตอนทำไม่เท่าไร แต่ตอนจะแกะออกมาทำนี่ค่อนข้างยากนิดหน่อย คือต้องลำโพงหลัล แล้วถอดเบาะหลังออกมาก่อน จากนั้นจึงถอดแผ่นคอนโซลด้านหลังออกมา
  • ส่วน LED ที่ใช้นั้นเป็นสีแดงแบบ Super Bright  ขับได้เพียงแถวละ 5 ดวง รวมวงจรหนึ่งจึงได้ Module ละ 10 ดวง วางเข้าพอดีกับ Case ไฟเบรค โดยวางทิ้งระยะห่าง 3 รูต่อดวง กำลังสวยงาม
  • แต่ยังต้องหา LED Resistor Load มาใส่เพิ่ม 

  • สำหรับไฟเบรคท้ายมี 2 ตอน 2 ข้างรวมกันก็ 4 ตอน กำหนดระยะและจำนวนหลอดคราวก็ประมาณตอนละ 100 ดวง 10 Module พอดี รวมทั้งหมด 400 ดวง
  • สำหรับไฟเลี้ยวประมาณข้างละ 40 ดวง รวม 2 ข้างก็ 80 ดวง
  • ไฟถอยหลัง ข้างละ 10 ดวง 1 Module พอดี รวม 2 ข้างก็ 20 ดวง
  • แต่ล่าสุดผมเดินบ้านหม้อเจอ LED 3.6V 3W ขายตัวละ 120 บาท ที่ร้านเปิดใหม่ เลยเปลี่ยน Concept มาเป็นตัวนี้แทน ในรูปนั้นขนาดยัง Drive ไม่ถึง 800mA ก็มองด้วยตาเปล่าไม่ได้แล้วครับ สว่างจริงๆ ก็กะลอง Drive สุดๆดูก่อน ถ้าสว่างพอก็ใช้แค่หลอดละดวงก็พอ แต่เท่าที่ลองแล้วไม่ค่อย Work เท่าไร หลอดมันจะติดตอนยังไม่ได้เบรค อาจเป็นเพราะมี LED แค่ตัวเดียว junction มันน้อยไป เทียบกับใช้ LED วัตต์ต่ำๆไม่พบปัญหา คือจุดสำคัญมันต้อง Design ให้ illumination ไม่ให้แตกต่างจากการสว่างเดิม
  • โดยปกติถ้าต่อโหลดไม่ถึง คือกินกระแสน้อยไป ระบบจะเข้าใจว่าหลอดขาด ยกตัวอย่างเช่นไฟเลี้ยว ถ้ากินกระแสไม่ถึงเวลาเปิดจะกระพริบเร็วกว่าปกติ แต่เท่าที่ลองเปลี่ยน R เป็น 50 Ohm โดยใช้ 100 โอห์ม 1W ขนานกันเป็น 50 โอห์ม 2W  ก็จะใช้ได้กระพริบปกติ แต่ต้องดูด้วยว่า LED ทนกระแสไหลผ่านขนาดนั้นได้ด้วยหรือเปล่า

แต่จากการใช้งานแบบต่อหลอดเดียวไม่ค่อย Work เท่าไร เพราะกระแส Drop ที่ R เยอะจึงทำให้เกิดความร้อน ทำให้กระแสไหลไม่คงที่ ต้องใช้เป็นวงจรที่จ่ายกระแสคงที่จะทำงานได้ดีกว่า

constanctdriving

โดยใช้วงจรตามรูปด้านบนควบคุมการจ่ายกระแสคงที่ด้วยการกำหนดค่า R10 ถ้าใช้กับหลอด LED Super Bright สีแดงจะ Drive อนุกรมได้ 5 หลอด ตกชุดละ 10 ดวง เมื่อนำไปใช้เป็นไฟเบรคให้กำหนดค่า R10 เป็น 0 Ohm คือ Short ลง Ground ไปเลย ถ้าไปใช้เป็นไฟหรี่ก็ให้ใช้ค่า R10=330 Ohms แทน ส่วน Output ที่ R8 ให้ไปต่อรวมที่ VCC +12 ได้เลย ทั้ง Module 40 หลอด เป็นไฟเบรค 30 หลอด ไฟหรี่ 10 หลอด กินกระแสไม่เกิน 250 mA

วัสดุและอุปกรณ์:

  • แผ่นวงจรเอนกประสงค์ ฿20 1 แผ่น 
  • TR BC337 ตัวละ ฿1 1 ตัว
  • TR BC547 ตัวละ ฿1 1ตัว
  • Resistor 1/4 Watt 5% ขายปลีกตัวละ ฿1 7 ตัว
  • LED Super Bright ตัวละ ฿2.50 40ตัว รวม 200 บาท

รวมต้นทุนต่อหนึ่งแผ่น 229 บาท 

{youtube}blNUoaOHMK4{/youtube}

 

โทร +669 4004 5061
อีเมล: [email protected]
Line ID: elec2rak

  • เนื้อหาที่เปิดอ่าน 1175172
  • Web Links 12

มี 347 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์