หลายสิ่งหลายอย่าง ที่คุณต้องการรู้ เกี่ยวกับ ...

ฮาวทู ไลฟ์สไตล์ ดีไอวาย อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เว็บไซท์ ยานยนต์ บ้าน ฯลฯ

LPG Injection System Upgrading

LPG Injection System Upgrading

หลังจากติดตั้ง LPG ระบบดูด หรือ Fix mixer ไปเมื่อปี 2007 ปรากฎว่าประสิทธิภาพในการทำงานไม่ดีเท่าที่ควร คือ MPG ต่ำเกินไป คราวนี้เราจะมา Upgrade ให้เป็นระบบหัวฉีด ซึ่งจะมีความแม่นยำในการสั่งจ่ายแก๊สมากกว่าระบบเดิม เพียงแค่ทำการเปลี่ยนและเพิ่มอุปกรณ์อีกเพียงเล็กน้อย ซึ่งก็คือตัว หม้อลดแรงดันแก็ส รางหัวฉีด และก็ชุดควบคุมหัวฉีดที่จะมาพร้อมกล่องควบคุม และตัวเซนเซอร์ต่างๆ ที่จำเป็น อาทิเช่น ตัววัดอุณหภูมิที่รางหัวฉีด และที่หม้อลดแรงดัน รวมถึง Map sensor รวมแล้วประมาณ 8,000 บาท

จากระบบดูดของเดิมที่ติดกล่องหลอกหัวฉีดเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อตัดการฉีดน้ำมัน แล้วปล่อยแก๊ส LPG ป่นเข้ามากลับอากาศทางท่อร่วมไอดีแทน ทำให้ระบบไม่สามารถควบคุมการปล่อยปริมาณแก๊สได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อเปิดมากขึ้นในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานที่รอบสูงๆ จึงเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ระบบนี้มีเงินอย่างเดียวติดไม่ได้ ต้องโง่ด้วยนะครับ (ไม่นับรวมรถยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์นะ) อันนี้ผู้เขียนก็ผ่านประสบการณ์ตรงนี้มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถึงจูนหม้อต้มแบบดูดได้เทพแค่ไหนก็เอาไม่อยู่ เลยตัดสินใจเสียเงินอีกรอบ Upgrade มาเป็นแบบหัวฉีด แต่คราวนี้ไม่จ้างเขาติดแล้ว ติดเองเลยดีกว่า คราวที่แล้วเสียไป 17,000 ติดมาให้ก็ไม่เรียบร้อย ใบรับรองยังไม่ทันได้ปิดร้านหนีไปเสียแล้ว

ทีนี้มาดูแบบหัวฉีดบ้าง ก็เปลี่ยนจากกล่องหลอกมาเป็นรางหัวฉีดจริงๆกัน โดยมีกล่องควบคุมการทำงานที่อ้างอิงจากจังหวะการทำงานของหัวฉีดน้ำมันอีกทีหนึ่ง ส่วนตำแหน่งเข้าของแก๊สก็ยังเข้าโดยตรงที่ท่อไอดีเลย โดยเจาะให้ใกล้หัวฉีดน้ำมันได้มากเท่าไรได้ยิ่งดี เพื่อการตอบสนองที่รวดเร็วกว่า ส่วนการทำงานอื่นๆก็ยังถูกควบคุมด้วย ECU เดิมของเครื่องยนต์ แต่ด้วยข้อจำกัดทางเวลาการเปิดปิดหัวฉีดแก๊สที่ใช้เวลานานกว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆ รวมเวลาเปิดปิดของหัวฉีดแก๊ส 4 หัว เทียบกับเวลาการเปิดปิดของหัวฉีดน้ำมันจึงเกิน cycle การทำงาน ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดขนาดรู้ของ Nozzle หัวฉีดให้สัมพันธ์กับความดันของหม้อลดแรงดัน และกำลังเครื่องยนต์ของรถเรา หากดูในคู่มือจะมีกราฟให้เราหาขนาดของ Nozzle ทีเหมาะสม โดยเทียบจากกำลังของเครื่องยนต์ ที่แรงดันหม้อต้ม 0.8 Bar และ 1.5 Bar คือเราสามารถเลือกปรับแรงดันหม้อลดแรงดันได้ โดยถ้าเราใช้แรงดันแก๊สที่ 1.5 Bar Nozzle รูก็ไม่ต้องใหญ่มากประมาณ 2.4 mm ตามแรงม้าของเครื่องยนต์ อย่างตาเพชร Maximum อยู่ที่ 145 HP ในทางกลับกันหากเราเลือกใช้แรงดันแก๊สที่ 0.8Bar รูของ Nozzle ก็จะต้องแปรผกผัน ซึงก็คือต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อยนั้นเอง จากการคำนวณของโปรแกรมจะอยู่ที่ขนาดรู Nozzle 2.8 mm จากทดลองสำหรับผมที่แรงดัน 0.8Bar เสถียรภาพกว่า 1.5Bar โดยหัวฉีดแก๊สใช้เวลาฉีดเพิ่มจากหัวฉีดน้ำมันต่างกันเพียง 1.6 ms

จากชุด Kit หัวฉีด ที่ซื้อทางเน็ตมา 8,000 ก็มีอุปกรณ์มาให้เกือบครบทุกอย่าง ตั้งแต่ หม้อลดแรงดัน, กรองแก๊ส, หัวฉีดและรางหัวฉีด, Map sensor, Temperature Sensor รวมทั้งข้อต่อท่อยางต่างๆที่จำเป็น จากนั้นก็ต้องเตรียมเครื่องมือเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย จากนั้นก็ดูและทำความเข้าใจกับ Connection Schematic ด้านล่าง ว่าเรามีอะไรบ้าง จะไปต่อกับอะไรตรงไหน

โทร +669 4004 5061
อีเมล: [email protected]
Line ID: elec2rak

  • เนื้อหาที่เปิดอ่าน 1175561
  • Web Links 12

มี 288 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์