หลายสิ่งหลายอย่าง ที่คุณต้องการรู้ เกี่ยวกับ ...

ฮาวทู ไลฟ์สไตล์ ดีไอวาย อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เว็บไซท์ ยานยนต์ บ้าน ฯลฯ

Electronic Thermostat Upgrading

Electronic Thermostat Upgrading

หลังเปลี่ยนคอยล์เย็นไปแล้ว แถมเปลี่ยนตัวควลคุมอุณภูมิที่เราเรียกกันว่าเทอร์โมสตัท หรือไม่ก็สวิตช์อุณหภูมิบ้าง โดยมันจะต่ออนุกรมอยู่กับ Pressure Switch อีกที่เพื่อส่งผ่านกระแสไฟไปยังตัวคอมเพรสเซอร์ แต่เนื่องจาก Thermostat ของเทียมที่เปลี่ยนไปมันตอบสนองย่านอุณหภูมิไม่ตรงกับตัวเก่าที่เป็นของแท้ ถ้าจะซื้อของแท้มาเปลี่ยนใหม่ก็ตกตัวละพันกว่าบาท แต่กะว่าจะเปลี่ยนเป็น Thermostat แบบอิเล็กทรอนิกส์แทน แต่งานนี้พอดีไปเจอชุดคิตของ Future Kit แบบสำเร็จรูปเลยซื้อมาประกอบ แล้วติดตั้งเองดีกว่า

ถ้าเป็นตัวเซนเซอร์แบบเก่ามันจะใช้การยืดและหดตัวของหัววัดไปดันหน้าสัมผัสให้เปิดและปิดตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเป็น Thermostat แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ว่านี้ก็จะใช้เซนเซอร์ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทน ในที่นี้ก็คือ IC LM335Z นั้นเอง พอประกอบวงจรเสร็จ เราก็มาทำการตั้งค่าอุณหภูมิที่เราต้องการก่อน ในที่นี้เราจะเอาไปติดในรถก็จะใช้อุณหภูมิประมาณ 25 °C บวกลบซัก 5 °C น่าจะได้ จากนั้นก็เอาหน้าสัมผัส Relay ต่อออกไปแทนหน้าสัมผัสเทอร์โมสตัทตัวเดิม ส่วนไฟเลี้ยงวงจรก็ให้ดึงไฟบวก 12 มาจากตอนที่บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ACC แล้วจึงมารอ Ground ที่สวิตช์ AC ของระบบแอร์ โดยวงจรจะมี hysteresis +/- ประมาณ 2 °C

{gallery}automotive/electhermo{/gellery}

ยกตัวอย่าง หากเราต้องการใช้ในรถเพื่อควบคุมความเย็น ก็เลือกโหมด Cool จากนั้นก็กำหนดค่ากลางของอุณหภูมิที่ต้องการด้วยการปรับค่า VR2 แล้ววัดดู Voltage ที่จุด TP ตามสูตรในคู่มือ จากนั้นจะเห็นว่าเราสามารถปรับบวกลบได้อีก 15 องศา ซึ่งอาจจะกว้างไปสำหรับการใช้งาน เราก็นำตัวต้านทานมาต่อขนานกับ VR1 เพื่อให้ได้ช่วงการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสนในการใช้งาน คือ ไม่กว้างและไม่แคบจนเกินไปนั้นเอง

            ถ้าเราเลือกอุณหภูมิที่ต้องการเป็น 25 °C ค่า Voltage ที่ TP ก็จะต้องเท่ากับ = 2.73+(25/100) = 2.73+0.25 = 2.98 Volts นั้นเอง

ขั้นตอนการติดตั้งและดัดแปลง:

  • อันนี้ผมตั้งใจใช้การปรับแบบ Volume ไม่ได้ใช้เป็นแบบ Digital ที่มีปุ่มกดตั้งอุณหภูมิได้ เพราะต้องการให้มันเข้ากับลูกบิดปรับอุณหภูมิของเดิมที่ออกแบบมาอยู่แล้ว จึงต้องใช้ก้านของเทอร์โมสตัมเดิมที่เป็นฝาอยู่ด้านบนมาต่อเข้ากับ VR หรือตัวต้านทานปรับค่าได้ ในลักษณะแบบในรูป จริงๆแล้วไม่ต้องต่อตัวต้านทานเพิ่มระยะหมุนของ VR กับการบิดตรงคอนโซลก็อยู่ในระยะที่ใช้งานได้พอดี
  • จากนั้นก็เดินไฟบวก 12V ตอนที่กุญแจอยู่ในตำแหน่ง IGN ดูเพิ่มเติมที่บทความนี้
  • ส่วนกราวด์เราต้องต่อให้ถูกจุด เพื่อที่วงจรจะได้ทำงานเปิดปิดไปพร้อมกับระบบเดิมได้อย่างสอดคล้องกัน โดยต้องต่อออกมาที่ขาของสวิตช์ A/C สายสี BLU-RED ที่อยู่คู่กับสายที GRN
  • จากนั้นก็ทำการตั้งค่าแรงดันอ้างอิงตามคู่มือของวงจร

โทร +669 4004 5061
อีเมล: [email protected]
Line ID: elec2rak

  • เนื้อหาที่เปิดอ่าน 1175574
  • Web Links 12

มี 324 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์